ผ้าไทยและชุดไทยพระราชนิยม

โดยเฉพาะเรื่องผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่นต่างๆ และผ้าชนเผ่าอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงส่งเสริมด้วยการก่อตั้งเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อส่งเสริมการผลิต รับซื้อมาออกแบบ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อจัดจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่บรรดาสตรีผู้เป็นสมาชิก โดยในยุคเริ่มต้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับซื้อ พระราชทานคำแนะนำแก่สตรีผู้ทอผ้าให้พัฒนารูปแบบและสีสันให้งดงามเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทรงวางรากฐานงานผ้าศิลปาชีพจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
นอกจากฉลองพระองค์แบบสากลที่ทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินทวีปยุโรปในครั้งนั้นแล้ว ยังพระราชทานกำเนิดต้นแบบการแต่งกายชุดไทยสำหรับใช้สวมใส่ออกงานที่มีลักษณะแตกต่างกัน เป็นที่รู้จักกันภายหลังว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” ด้วย โดยได้ทรงศึกษาค้นคว้า ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ” ความตอนหนึ่งว่า
อนุรักษ์และสืบสาน
ชุดไทยพระราชนิยมจึงถือกำเนิดขึ้นมานับตั้งแต่ครั้งนั้น โดยในเบื้องต้นมี 5 ชุด คือ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี และ ชุดไทยดุสิต ชุดไทยพระราชนิยมจึงถือกำเนิดขึ้นมานับตั้งแต่ครั้งนั้น โดยในเบื้องต้นมี 5 ชุด คือ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี และ ชุดไทยดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสร้างสรรค์ขึ้นอีก 3 แบบ ได้แก่ ชุดไทยดุสิต ชุดไทยจักรพรรดิ และ ชุดไทยศิวาลัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีลักษณะการตัดเย็บเฉพาะตัวและมีข้อกำหนดในการเลือกใช้ในโอกาสที่แตกต่างกัน
ก่อนหน้านี้เราอาจเห็นสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือข้าราชการผู้มีตำแหน่งเฝ้าฯ สวมใส่ชุดไทยพระราชนิยมเวลาไปร่วมงานพระราชพิธีหรือพิธีสำคัญต่างๆ เท่านั้น ต่อมาก็เห็นบรรดาเจ้าสาวสวมใส่ชุดไทยแบบต่างๆ ในวันเข้าพิธีมงคลสมรสกันอย่างสวยสง่างาม แต่พอถึงวันนี้ ดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงไทยจะสวมใส่ชุดไทยกันไปร่วมงานพิธีสำคัญต่างๆกันอย่างภูมิใจ และเปิดกว้างขึ้นกว่าเดิม แต่ต้องคำนึงถึงกาลเทศะ ในการแต่งกายชุดไทยในรูปแบบนั้นอย่างถูกต้อง ใส่เครื่องประดับมากน้อยตามระดับของงาน ไม่ใช่ประโคมลงไปจนเกินงาม และที่สำคัญคือกิริยามารยาทเมื่อสวมใส่ชุดไทยแล้วก็พึงระมัดระวังให้สุภาพเรียบร้อยสมกับที่เรากำลังนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นสตรีไทยผ่านเครื่องแต่งกายของเราในเวลานั้น